ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

โครงการ “การเพิ่ม ศักยภาพการแข่งขั นอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย                   

สวทช. ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปปรับปรุงระบบการผลิต เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย โดยโรงงานที่เข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมาสามารถลดต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมมันสำปะหลังได้กว่า 140 ล้านบาท
ดร.วรินธร สงคสิริ หัวหน้าโครงการการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงโครงการการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย โดย สวทช. ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของไทย ซึ่งที่ผ่านมาเป็นปีแรกของโครงการและมีโรงงานแป้งมันสำปะหลังเข้าร่วม 10 โรงงาน โดยแต่ละโรงงานจะเลือกโจทย์ในการแก้ปัญหากระบวนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 2 โจทย์หลัก คือ โจทย์ทางเทคนิคการผลิตและโจทย์ด้านการจัดการ เพื่อลดการสูญเสียแป้ง การใช้น้ำ การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ทั้งนี้ โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ สามารถลดต้นทุนได้กว่า 140 ล้านบาท (รายละเอียดเพิ่มเติม)
ผู้สนใจทั่วไปสามารถสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังได้แล้ว ณ บัดนี้ (ที่นี่)
  \"\"

ที่มา

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกันดำเนินการจัดอบรมในหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพลังงานและทรัพยากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ปีที่ 1 (พ.ศ. 2555)” ภายใต้โครงการ “การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย” เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหรือเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานและทรัพยากร และพัฒนาบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง

กิจกรรมหลัก

· การอบรมหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพลังงานและทรัพยากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ปีที่ 1 (พ.ศ. 2555)” ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

· การให้คำปรึกษา ณ สถานประกอบการ โดยผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาอุตสาหกรรม

· การส่งเสริมการใช้แนวคิดการปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมเกือบเป็นศูนย์ (Near Zero Waste)

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

· โรงงานที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 โรงงาน สามารถลดการใช้พลังงานและทรัพยากร รวมทั้งลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิต

· ผู้บริหาร ผู้จัดการสายการผลิตและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยผลิตอย่างน้อย 70 คน เข้าใจ และให้ความสำคัญของการนำหลักการและความรู้ ด้านเทคโนโลยีและการบริหารจัดการมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง

หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคคลากรด้านพลังงานและทรัพยากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง”

หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพลังงานและทรัพยากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ปีที่ 1 (พ.ศ. 2555)” ประกอบด้วย การฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สำหรับผู้บริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการ

· การฝึกอบรมภาคทฤษฎี ประกอบด้วย การบรรยายเรื่องเทคโนโลยีการผลิตแป้ง หลักการและทฤษฎีของหน่วยผลิตแต่ละหน่วย และการทำกิจกรรมกลุ่ม มุ่งเน้นการคิด วิเคราะห์ เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ไปส่วนของการอบรมภาคปฏิบัติ

· การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ บุคลากรของโรงงาน นำองค์ความรู้ หลักการและทฤษฎีด้านกระบวนการผลิต และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทรัพยากรและพลังงานมาประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดการปรับปรุงเครื่องจักร สิ่งประดิษฐ์ และแนวคิดใหม่เกิดขึ้นได้การจัดอบรมภาคปฏิบัติ ทั้งด้านเทคนิคและการจัดการ

คณะทำงานประกอบด้วยความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน คือ

บุคลากรของโรงงาน มีหน้าที่ร่วมเลือกโจทย์ในกระบวนการผลิต และดำเนินการปรับปรุง
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม มีหน้าที่ให้คำปรึกษากับโรงงานเกี่ยวกับโจทย์วิจัยทั้งด้านการจัดการ และเทคนิค
ผู้เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ให้ข้อมูลด้านเทคนิค และวิชาการ รวมทั้งควบคุมคุณภาพของงาน

 

ผลสำเร็จของโครงการ

หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพลังงานและทรัพยากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง  ปีที่ 1 (พ.ศ. 2555) เป็นหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาขึ้นให้เหมาะสำหรับบุคลากรของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ทั้งระดับผู้บริหารและพนักงานในสายการผลิต โดยมีบุคลากรในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลงผ่านการฝึกอบรมจำนวนทั้งสิ้น 86 คน จาก 10 โรงงาน

ผู้ผ่านการอบรม

ระยะเวลาการจัดอบรม (วัน)

จำนวนผู้ผ่านการอบรม (คน)

ผู้ประกอบการและผู้จัดการสายการผลิต

1

15

พนักงานในสายการผลิต จากหน่วยทำความสะอาด โม่ และสกัด

1

37

พนักงานในสายการผลิต จากหน่วยแยกแป้ง

1

36

พนักงานในสายการผลิต จากหน่วยสลัดแห้ง และอบแป้ง

1

30

พนักงานในสายการผลิต จากหน่วยบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพ

1

27

การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานและทรัพยากร

โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังดิบจำนวน 10 โรงงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนการผลิตรวมได้  76 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มโอกาสทางการผลิตเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่า 90 ล้านบาทต่อปี ดังรายละเอียดต่อไปนี้

·    การลดการสูญเสียแป้งระหว่างกระบวนการผลิตคิดเป็นมูลค่า 56.6 ล้านบาท/ปี

·    การลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตคิดเป็นมูลค่า14 ล้านบาท/ปี

·    การลดการใช้เชื้อเพลิงคิดเป็นมูลค่า 5 ล้านบาท/ปี

·    อื่นๆ เช่น ลดการเปลี่ยนฟันโม่ ลดการใช้กำมะถัน เป็นต้น คิดเป็นมูลค่า 0.4 ล้านบาท/ปี