ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

« May 2024 »
S M T W T F S
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31

กิจกรรม

ข่าว

ไร่ละ 3,000 บาท ชดเชยทำลายมันสำปะหลังใบด่าง (ข่าววันที่ 11 มกราคม 2563)
เปิดเวที ปราบใบด่างมันสำปะหลัง มั่นใจเกษตรกรได้รับค่าชดเชยภายใน ก.พ. คุมเข้มห้ามเกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคซ้ำเด็ดขาด

กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเวที ปราบใบด่างมันสำปะหลัง มั่นใจเกษตรกรได้รับค่าชดเชย ภายใน ก.พ. นี้ คุมเข้ม ห้ามเกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์ ที่เป็นโรคซ้ำ เด็ดขาด ขอความร่วมมือทุกชุมชน เฝ้าระวังและรู้จักโรค  

นางกุลฤดี  พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงการประชุมชี้แจงคู่มือโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมช่วยเหลือเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ กรมวิชาการเกษตร รับรองการเกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังในประเทศไทย ที่สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Cassava mosaic virus ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญ หากระบาดรุนแรงอาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์
 
เกษตรกรไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ เชื้อไวรัสสาเหตุโรคสามารถแพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์มันสำปะหลังและ แมลงหวี่ขาวยาสูบ และ ครม. ได้อนุมัติงบประมาณโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง  เป็นค่าทำลายต้นที่เป็นโรคและเงินชดเชยให้เกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดทำคู่มือโครงการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถนำไปปฏิบัติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข พื้นที่เป้าหมาย วิธีการทำลาย การใช้เงิน วิธีการจ่ายเงินชดเชย ที่คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังกำหนด
 
สำหรับแผนการขับเคลื่อนการปราบใบด่างมันสำปะหลัง ได้ วางไว้ 4 แนวทาง สำรวจ ชี้เป้า ทำลาย และชดเชย ซึ่งจะต้องทำ โดยรัดกุม พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด และการทำลาย จะต้องถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ได้แก่ วิธีฝังกลบ
 
โดยฝังกลบต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค และต้นข้างเคียงโดยรอบในรัศมี 2 เมตรในหลุมที่ลึกไม่น้อยกว่า 2 - 3 เมตร ราดด้วยสารกำจัดวัชพืช อะมีทรีน 80% WG ซัลเฟนทราโซน 48% SC ไดยูรอน 80% WP อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน จึงกลบด้วยดินหนาไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร  วิธีใส่ถุง/กระสอบ  โดยนำต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคตัดเป็นท่อนใส่ถุง / กระสอบมัดปากให้แน่นแล้วนำไปตากแดดไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือจนกว่าต้นมันสำปะหลังจะตาย หรือ วิธีบดสับ
 
โดยนำต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคเข้าเครื่องบดป่นหรือเครื่องสับย่อย โดยปูพลาสติกรองพื้นให้เศษต้นที่ถูกทำลายอยู่บนพลาสติก แล้วคลุมกองด้วยพลาสติกตากแดดให้ต้นมันสำปะหลังแห้งตาย ขณะนี้ เริ่มทำลายไปแล้ว กว่า 20,000 ไร่ 
 
สำหรับเกษตรกรที่ยินยอมให้ทำลายต้นที่เป็นโรค จะได้รับเงินชดเชย ไร่ละ 3,000 บาท ตามรายละเอียดเงื่อนไขของโครงการ โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถจ่ายเงินให้กับเกษตรกร ได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป
 
ทั้งนี้ ขอย้ำให้เกษตรกร และสั่งการเจ้าหน้าที่ให้ทุกพื้นที่ ที่พบการระบาด รวมถึงพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ไม่ใช้ท่อนพันธุ์ ที่เป็นโรคซ้ำ เด็ดขาด และขอความร่วมมือ เจ้าหน้าที่เกษตรกร สร้างการรับรู้ให้เกษตรกร เฝ้าระวัง และ หมั่นสำรวจแปลงอยู่เสมอ 
 
 
ที่มา: คม ชัด ลึก
https://www.komchadluek.net/news/agricultural/409271