ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

« May 2024 »
S M T W T F S
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31

กิจกรรม

ข่าว

ภาคเกษตรโดนด้วย ‘หั่นจีดีพีเกษตร’ โตแค่ 0.5-1.5% (ข่าววันที่ 11 พฤศจิกายน 2562)
“สศก.” เคาะจีดีพีเกษตรทั้งปี โตแค่ 0.5 – 1.5 % ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ตั้งไว้ 2.0-2.3% จากปัจจัยฝนทิ้งช่วง และจากภัยธรรมชาติ ขณะไตรมาส 3 ขยายตัวแค่ 1.1%

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตร (จีดีพี) ภาคการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2562 (ก.ค–ก.ย. 2562) พบว่า ขยายตัว 1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 เนื่องจากผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญมีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด เงาะ และมันสำปะหลัง สำหรับสาขาบริการทางการเกษตรและสาขาป่าไม้ยังขยายตัวได้ ขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาประมงหดตัวลง

ทั้งนี้ สศก.ได้คาดการณ์แนวโน้มจีดีพีเกษตร ตลอดทั้งปี 2562 จะขยายตัวอยู่ในช่วง 0.5 – 1.5 % เมื่อเทียบกับปี 2561 ลดลงจากการประเมินในช่วงต้นปีว่าจะขยายได้ถึง 3.0-3.5% เมื่อเทียบกับปี 2561 จากนั้นในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากพายุโพดุลและพายุคาจิกิ ประกอบกับสถานการณ์ภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง สศก. จึงได้ปรับประมาณการลงมาโดยขยายตัวที่  2.0-2.3% จากปี  2561 ที่ขยายตัวได้ 4.6%

อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 จากสาขาพืช สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ยังมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดและกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีทิศทางเพิ่มขึ้น ส่วนสาขาปศุสัตว์มีแนวโน้มชะลอตัวจากผลผลิตสุกรที่ลดลง โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การวางแผนการผลิตอย่างเหมาะสม 
 
การส่งเสริมการรวมกลุ่มการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร การบริหารการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการส่งเสริมการใช้สินค้าเกษตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศทั้งภาวะแห้งแล้งและการเกิดพายุฝนที่อาจส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรได้
 
นายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สศก. กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคเกษตร ในไตรมาส 3 ปี 2562 ที่ขยายตัวได้ 1.1% มาจาก สาขาพืชขยายตัว 1.6% ปศุสัตว์ หดตัว 0.5% ประมง หดตัว 0.3% บริการทางการเกษตร 2.5% และป่าไม้ 1.8%
 
โดยสาขาพืชที่ขยายตัว 1.6% มาจากพืชสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา เนื่องจากเนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้นจากพื้นที่ปลูกใหม่ในปี 2556 ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น และมันสำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี
 
สำหรับพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี เนื่องจากฝนที่มาล่าช้าในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก ทำให้บางพื้นที่ขาดน้ำในการเพาะปลูกนอกจากนี้ ภาวะฝนทิ้งช่วงและผลกระทบจากพายุโพดุล ทำให้ต้นข้าวได้รับความเสียหาย ข้าวนาปรังมีผลผลิตลดลง เนื่องจากภาวะภัยแล้ง และปริมาณน้ำที่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์และผลผลิตต่อไร่ลดลง
 
ส่วนทางด้านราคาสินค้าพืชที่เพิ่มขึ้นได้แก่ราคาข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง แต่ยังมีความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่วนพืชที่ราคาลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก และปัญหาน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกษตรกรเร่งขุดมันสำปะหลังขายก่อนกำหนด นอกจากนี้ ราคายางพาราลดลงเนื่องจากผลผลิตมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เปิดกรีดยางใหม่ 
 
ราคาปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องและสต็อกน้ำมันปาล์มยังคงมีปริมาณที่สูงกว่าสต็อกเพื่อความมั่นคงที่ประเมินไว้ ส่วนราคามังคุดและเงาะลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้านสาขาปศุสัตว์ สุกรมีแนวโน้มราคาลดลง เพราะเกษตรกรรายย่อยลดการเลี้ยงจากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น และผลกระทบโรคอหิวาต์แอฟริกา
 
 
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853881