ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

« May 2024 »
S M T W T F S
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31

กิจกรรม

ข่าว

คุมเข้มโรคใบด่าง!! ลุยสแกนแปลงปลูกมันสำปะหลังทุกต้น 8.9 ล้านไร่ (ข่าววันที่ 10 กรกฎาคม 2562)
เกษตรฯ ปูพรหมทั่วประเทศ ลุยสแกนแปลงปลูกมันสำปะหลัง 8.9 ล้านไร่ทุกต้น ภายใน 15 ก.ค.นี้ สั่งคุมโรคใบด่างป้องเชื้อลามพื้นที่ปลูกแหล่งใหญ่

เมื่อวันที่ 10 ก.ค.62 นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังพบการรายงานการพบโรคใบด่างมันสำปะหลัง (CMD) กำลังระบาดในขณะนี้ ได้สั่งการให้ เกษตรจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ที่อยู่แนวชายแดนเช่นจ. สระแก้ว นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ จันทบุรี ปราจีนบุรี จัดทีมเจ้าหน้าที่เกษตร และร่วมกับเกษตรกร ลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงปลูกมันสำปะหลัง ทั่วประเทศ ทุกต้น มีอยู่ ประมาณ 8.9 ล้านไร่ และรายงานให้กรมฯ ทราบ ภายใน 15 ก.ค. 2562 นี้ เพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้กระจายไปยังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดอื่นๆ

“ขอความร่วมมือให้เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง ตรวจสอบแปลงของตัวเอง หากพบ ลักษณะอาการ หากพบอาการ ใบเป็นด่าง เหลือง เสียรูปทรง ลดรูป และยอดที่แตกใหม่จะแสดงอาหารด่างเหลือง ลำต้นแคระแกร็น เบื้องต้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่เข้าไปทำลายทันที นอกจากนี้ กำชับให้ทุกจังหวัด เตือนเกษตรกรห้ามเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน”อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

สำหรับ โรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นโรคที่เพิ่งพบการระบาดในประเทศไทย มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย 80-100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ การป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่

1.เกษตรกรควรใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากต้นที่ไม่เป็นโรคใบด่างมาปลูก ควรใช้ท่อนพันธุ์ภายในประเทศ ไม่นำท่อนพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูก เพราะอาจเสี่ยงต่อการนำเอาท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัสเข้ามาปลูก

2.เกษตรกรควรหมั่นเดินตรวจแปลงตั้งแต่เริ่มปลูกทุกๆ 2 สัปดาห์ หากพบอาการที่ผิดปกติสงสัยว่าจะเป็นโรคใบด่าง เช่น ใบหงิก ใบด่าง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ให้มาตรวจสอบและทำลาย หลังจากนั้นเกษตรกรควรฉีด พ่นสารเคมีต้นที่เหลือในแปลงและแปลงข้างเคียงเพื่อทำลายแมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะของโรค ติดตามการเกิดโรคใบด่างในแปลงอย่างต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์

3.หากเกษตรกรมีข้อสงสัยหรือพบอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถแจ้งได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

 
ที่มา สยามรัฐ
https://siamrath.co.th/n/89875