ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

« April 2024 »
S M T W T F S
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30

กิจกรรม

ข่าว

สั่งคุมโรคใบด่างระบาด 8 อำเภอสระแก้ว!! (ข่าววันที่ 22 มิถุนายน 2562)
“กฤษฏา” สั่งด่วนคุมโรคระบาดใบด่างมันสำปะหลัง 8อำเภอ จ.สระแก้ว หวั่นลามกระทบเพาะปลูกแหล่งใหญ่ของประเทศ

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.62 นายกฤฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการผ่านไลน์ด่วนที่สุดเรื่อง ขอทราบสถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ให้ปลัดเกษตรและอธิบดีกรมวิชาการเกษตรรวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง รายงานสถานการณ์ล่าสุดว่าเป็นอย่างไรเช่นพื้นที่ระบาดมีกี่ไร่ที่ไหนบ้างและระบาดระดับความรุนแรงอย่างไร จากที่พบโรคระบาดใบด่างมันสำปะหลัง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 มีการระบาดอยู่ 5 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และเดือนมิถุนายน สำรวจพบการระบาดเพิ่ม เป็น 8 อำเภอ ทั้งนี้ได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เร่งบูรณาการหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อหยุดยั้งการระบาดและจำกัดต้นตอของโรค พร้อมกับนี้ขอทราบแนวโน้มต่อไปสถานการณ์การระบาดจะมากขึ้นหรือลดลง มีความต้องการช่วยเหลือในเรื่องอะไรบ้างในเรื่องการแก้ไขปัญหาใบด่างระบาดในมันสัมปะหลังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระะจายมากกว่านี้ยังแหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังขนาดใหญ่ของประเทศ

ทั้งนี้ ได้ให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เรียกประชุมอธิบดีที่เกี่ยวข้อง ผู้ตรวจราชการเขตและเจ้าหน้าที่ผู้เชียวชาญของกรมวิชาการเกษตร เพื่อระดมสมองหาแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น วิธีระงับปัญหา มาตรการสะกัดกั้น การเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรที่ผลผลิตประสบโรคระบาด การขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อระดมกำลังแก้ไขปัญหาด้วย

โดยเบื้องต้น กรมวิชาการเกษตร ได้ใช้การปฏิบัติควบคุม กำจัด และป้องกันโรค ใบด่างในมันสำปะหลัง ได้แก่

1.ปฎิบัติการควบคุมพื้นที่ที่พบการระบาด เช่น ตรวจยืด ควบคุม จำกัดบริเวณท่อนพันธุ์ พาหะโรค เพื่อรอการทำลาย และควบคุมมิให้เคลื่อนย้ายพาหะไปยังพื้นที่อื่นๆ

2.การระดมวัสดุ/สารเคมีฆ่าเชื้อ และปฏิบัติการทำลายพาหะโรค

3.การบันทึก/พิสูจน์/ตรวจวิเคราะห์ทางห้อง lab เพื่อนำไปสู่การประกาศเขตระบาดโรค และให้การช่วยเหลือตามระเบียบ

4.การตั้งด่านสกัดกั้น และหาข่าวการลักลอบเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์/พาหะโรค ตามแนวชายแดน และ รอบพื้นที่รัศมีการระบาด

5.ในพื้นที่รอบรัศมีการระบาด/หรือมีความเสี่ยง ให้ จนท เกษตรจังหวัด อำเภอ ตำบล อาสาสมัครเกษตร ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด ตรวจเยี่ยม แนะนำ และกำกับ ให้เกษตรกรได้จัดการแปลงมันฯ ตามหลักวิชาการ (ค้นหาโรค พ่นสารเคมีทำลาย /ป้องกัน)

6.ระดมสรรพกำลัง เจ้าหน้าที่ และให้ความรู้ก่อนปฏิบัติการตามข้อ 1-4

7.เตรียมงบประมาณเพื่อการจัดหาวัสดุ เครื่องมือ ในการปฏิบัติการ

8.ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร สร้างการรับรู้ แก่เกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และ องค์กรระหว่างประเทศ ด้านระบาดวิทยา

9.ปฏิบัติการค้นหาโรค scaning/ surviellance อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง

10.ปฏิบัติการร่วมประเทศเพื่อนบ้านเพื่อค้นหาโรคและทำลาย (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)

11.เตรียมห้อง Lab เครื่องมือตรวจวิเคราะห์โรค เพื่อรองรับตัวอย่างที่ส่งตรวจ วินิจฉัย และรายงานโรค ที่เป็นสากล

 
ที่มา: สยามรัฐ
https://siamrath.co.th/n/86259