ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

ลงทะเบียนผู้ให้บริการ

อีเมล :
รหัสผ่าน :
 
ลงทะเบียน   ลืมรหัสผ่าน

สมัครเป็นผู้ให้บริการ

สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ

“สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ”

เทคโนโลยีและบริการ

เครื่องอัดไอ

คือเครื่องอัดไอ การทำงานหรือหน้าที่ของมันคือ ดูดไอ (แรงดันตำ) ทำการอัดให้เป็นไอ (แรงดันสูง) อุณหภูมิสูง เพื่อส่งไปใช้งานต่อไป โดย Pressure Switch จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุน และไปขับให้ปั๊มอัดอากาศทำงาน  และเมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศมีความดันสูงถึงพิกัดที่กำหนดไว้ Presssure Switch ก็จะตัดวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์หยุดทำงานด้วยแต่เมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศถูกนำไปใช้งาน และความดันภายในถังบรรจุอากาศต่ำลงจนถึงตำแหน่งที่กำหนดไว้ Presssure Switch ก็จะต่อวงจรให้มอเตอร์และปั๊มอากาศทำงานต่อไป โดยการทำงานของปั๊มอัดอากาศแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ Displacement  compressor และ Dynamic compressor


Displacement  compressor
 

มีหลักการทำงาน คือ ให้อากาศไหลเข้าไปในปริมาตรอันหนึ่งภายในเครื่องอัดเเล้วลดปริมาตรอากาศนี้ลง โดยใช้พลังงานจากภายนอก เมื่ออากาศมีปริมาตรน้อยความดันของอากาศก็จะสูงขึ้นและถูกปล่อยออกไปเป็นอากาศที่มีความดัน


Dynamic compressor
 

หลักการทำงาน คือ ให้พลังงานกลเเก่อากาศทำให้ได้อากาศมีความเร็วเพิ่มขึ้น โดยผ่านโรเตอร์เเล้วอาศัยรูปร่างของ casing ภายในเครื่องอัดอากาศลดความเร็วอากาศลง จะทำให้พลังงานของอากาศในรูปของพลังงานจลน์  เปลี่ยนเป็นความดันอากาศเเล้วอากาศนี้ไหลผ่านช่องทางออกเครื่องอัดลมที่มีใช้อยู่ทั่วไปอยู่หลายประเภท แต่อาจจำแนกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่. (1) เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ทำงานโดยการอัดอากาศภายในกระบอกสูบให้มีปริมาตรลดลงเพื่อให้มีความดันเพิ่มขึ้น (2) เครื่องอัดแบบไดอะเฟรม (3) เครื่องอัดลมแบบเวนโรตารี (4) เครื่องอัดลมแบบสกรู (5) เครื่องอัดลมแบบใบพัด (6) เครื่องอัดลมแบบกังหัน


 

การตรวจสอบและติดตามการทำงานของเครื่องจักร
การหล่อลื่น  สังเกตและตรวจสอบแรงดันทุกวัน และเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันทุกเดือน
ไส้กรองอากาศ  ตรวจสอบและเปลี่ยนไส้กรองอากาสอย่างสม่ำเสมอ
ที่ดักไอน้ำควบแน่น ระบายไอน้ำควบแน่นออกไปจากระบบที่ดักไอน้ำที่ควบคุมด้วยมือ ก็ควรได้รับการตรวจสอบเปิด-ปิด เพื่อระบายของเหลวที่สะสมตัวอยู่ ส่วนที่ดักไอน้ำแบบอัตโนมัตินั้น ควรได้รับการตรวจสอบว่าไม่มีการรั่วไหลของอากาศ
เครื่องอบอากาศ เครื่องอบอากาศแบบแช่เย็น ควรตรวจสอบและเปลี่ยนแผ่นกรองขั้นต้นอย่างสม่ำเสมอ และรักษาผงผลึกดูดความชื้นจากอากาศได้นี้ ให้มีค่าต่ำกว่า 100°F เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีสารดูดความชื้นเพิ่มมากขึ้นซึ่งควรมีการเปลี่ยนใหม่ 3-4 เดือนขึ้นอยู่กับอัตราการใช้ที่หมดไป