ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

ลงทะเบียนผู้ให้บริการ

อีเมล :
รหัสผ่าน :
 
ลงทะเบียน   ลืมรหัสผ่าน

สมัครเป็นผู้ให้บริการ

สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ

“สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ”

เทคโนโลยีและบริการ

หน่วยผลิตน้ำดี

กระบวนการทำน้ำดี มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตแป้ง ขั้นตอนหลัก คือ การแยกของเจือปนออกจากน้ำ โดยมีลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
  1. การตกตะกอนจมตัว
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนใช้แยกของผสมเนื้อผสมที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลวทำได้โดยนำของผสมนั้นวางทิ้งไว้ให้สารแขวนลอยตกตะกอน และหากเร่งให้เกิดการตกตะกอนเร็วขึ้นอาจทำได้โดยใช้สารตัวกลางให้อนุภาคของตะกอนมาเกาะ ส่งผลให้มวลมากขึ้น จึงตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น การใช้สารส้มแกว่งน้ำ หรือใส่ปูนขาว เพื่ออนุภาคของสารส้มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้โมเลกุลของสารที่ต้องการตกตะกอนมาเกาะ ตะกอนจะตกเร็วขึ้น
  2. การกรอง
    การกรองด้วยตะแกรงเพื่อสกัดของแข็งที่มีขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็กขึ้นอยู่กับขนาดรูของตะแกรงจึงอาจแบ่งชนิดของตะแกรงอย่างกว้างๆเป็น 2 แบบ คือ ตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียด
  3. การสร้างตะกอน การรวมตะกอนและการตกตะกอน

    การสร้างตะกอน
    เป็นกระบวนการเติมสารเคมีซึ่งเรียกสารสร้างตะกอนลงไปในน้ำซึ่งมีของแข็งขนาดเล็กฟุ้งกระจายอยู่  สารเคมีที่นิยมใช้คือสารส้ม (Alum) หรือเรียกเป็นชื่อทางเคมีว่าอะลูมิเนียมซัลเฟต [Al2 (SO4)3] เพื่อลดความเสถียร (Destability) ของอนุภาคขนาดเล็กพวกคอลลอยด์ในน้ำหรือความขุ่นของน้ำ ทำให้อนุภาคเหล่านี้รวมตัวกันเป็นของแข็งที่มีขนาดใหญ่และหนักขึ้น โดยอาศัยกระบวนการทางกายภาพร่วมด้วย คือกระบวนการผสมเร็วและผสมช้า นอกจากนี้ ต้องมีการปรับพีเอชของน้ำให้กระบวนการสร้างและรวมตะกอนให้มีประสิทธิภาพ โดยสารเคมีที่นิยมใช้ปรับพีเอชในกระบวนการนี้คือปูนขาว [Lime; (Ca (OH)2]

    การรวมตะกอนและตกตะกอน
    การตกตะกอนเป็นกระบวนการทางกายภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกอนุภาคของแข็งออกจากน้ำโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกรวมตัวของของแข็งที่มีขนาดเล็ก โดยมีสารเคมีเป็นศูนย์กลางทำให้อนุภาคมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่ายเรียกตะกอนที่รวมตัวกันมีขนาดโตพอที่จะตกตะกอนได้ง่ายว่าฟล็อก ( Floc ) การตกตะกอนเพื่อลดปริมาณความขุ่นในน้ำ (ซึ่งควรมีความขุ่นไม่เกิน 10 พีพีเอ็ม)

     
  4. การทำน้ำอ่อน (Water softening)
    ความกระด้างในน้ำเกิดจากปริมาณความเข้มข้นของ แคลเซียมไอออน และแมกนิเซียมไอออน ที่มีหน่วยวัดเป็น มิลลิกรัม/ลิตร ของแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) น้ำกระด้างจะมีผลกระทบต่อการเกิดตะกรันในเครื่องทำน้ำร้อน และทำให้เกิดฟองของสบู่ได้น้อยในน้ำกระด้าง ในหลายอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องใช้น้ำอ่อนในกระบวนการผลิต
    การกำจัดความกระด้างของน้ำ มีการพัฒนากระบวนการที่แตกต่างกัน ดังนี้:
    • การตกตะกอน โดยใช้สารเคมี (Chemical Precipitation)
    • การแลกเปลี่ยนประจุ โดยใช้เรซิน (Ion Exchange Resin)
    • การดูดซึมแบบย้อนกลับ (Reverse Osmosis)