ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

ลงทะเบียนผู้ให้บริการ

อีเมล :
รหัสผ่าน :
 
ลงทะเบียน   ลืมรหัสผ่าน

สมัครเป็นผู้ให้บริการ

สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ

“สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ”

เทคโนโลยีและบริการ

ระบบสายพาน

ระบบสายพานลำเลียงภายในการผลิตจะใช้ลำเลียงหัวมันที่รับเข้าสู่โรงงานไปสู่หน่วยทำความสะอาดและหน่วยหน่วยการโม่  โดยสายพานที่ใช้ทั่วไปจะประกอบชั้นวัสดุต่างๆได้แก่
  1. ยาง ผิวบน (Top Cover) มีหน้าที่รองรับ วัสดุ ขนถ่าย และป้องกันการเสียหายของ ชั้นผ้าใบรับแรง และยังมีคุณสมบัติป้องกัน แรงกระแทก ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันน้ำมัน ป้องกันความร้อน
  2. ชั้นผ้าใบรับแรง (Carcass) มีหน้าที่เป็นแกนรับแรงดึงของ สายพาน ทั้งเส้น และช่วยกระจายแรงดึงของ สายพาน เมื่อทำการ ลำเลียงวัสดุ
  3. ชั้นยางประสานผ้าใบ (Skim rubber) มีหน้าที่ประสานชั้นผ้าใบแต่ละชั้นเข้าด้วยกัน
  4. ยาง ผิวล่าง (Bottom Cover) มีหน้าที่ป้องกันชั้นผ้าใบรับแรงไม่ให้เสียหายจากการเสียดสีกับ ลูกกลิ้ง (Idler) และ พูลเลย์ โดยสายพานลำเลียงจะถูกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์และประกอบด้วยลูกกลิ้งลำเลียงหลายตัวประกอบเข้าด้วยกัน

\"\"

ระบบท่อลำเลียง

 

ระบบท่อส่ง-ปั๊ม

น้ำแป้งที่ผ่านหน่วยการโม่จะมีลักษณะเป็นของเหลว และลำเลียงเข้าสู่หน่วยต่างของกระบวนการผลิตแป้ง คือ หน่วยการสกัด หน่วยแยกแป้ง และหน่วยอื่นๆ โดยระบบท่อลำเลียงโดยทั่วไปจะประกอบด้วย ส่วนเริ่มต้นของท่อส่งลำเลียง (Initial injection station) ส่วนสุ่มเก็บตัวอย่าง (Partial Delivery Station) ส่วนของปั๊มแรงดัน (Compressor Pump Station) ส่วนของวาล์วควบคุม (Block Valve Station) ส่วนท้ายของท่อลำเลียง (Final Delivery Station)
ปั๊มเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งน้ำแป้งให้เคลื่อนที่จากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งโดยประเภทของปั๊มน้ำ (Type of Pump) ในปัจจุบันมีการจัดแบ่งประเภทของปั๊มน้ำหลายรูปแบบ และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น
  1. แยกตามลักษณะการเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลว หรือการไหลของของเหลวในปั๊ม ได้แก่
    • ประเภทปั๊มแรงเหวี่ยง หรือปั๊มหอยโข่ง(Centrifugal)เพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง ปั๊มแบบนี้บางครั้งเรียกว่าแบบ Rota – dynamic
    • ประเภทโรตารี่ (Rotary) เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลาง
    • ประเภทลูกสูบชัก (Reciprocating) เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการอัดโดยตรงในกระบอกสูบ
    • ประเภทพิเศษ (Special) เป็นปั๊มที่มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถจัดอยู่ในทั้งสามประเภทที่กล่าวมา
  2. แยกตามลักษณะการขับดันของเหลวในปั๊ม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
    • ประเภททำงานโดยไม่อาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Dynamic) เป็นปั๊มประเภทอาศัยแร เหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลางและแบบพิเศษ
    • ประเภททำงานโดยอาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Positive Displacement) คือการเคลื่อนที่โดยอาศัยชิ้นส่วนของเครื่องสูบ ปั๊มประเภทนี้จะรวมเอาแบบโรตารี่และแบบลูกสูบชักเข้าอยู่ในกลุ่มด้วย