ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

ลงทะเบียนผู้ให้บริการ

อีเมล :
รหัสผ่าน :
 
ลงทะเบียน   ลืมรหัสผ่าน

สมัครเป็นผู้ให้บริการ

สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ

“สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ”

เทคโนโลยีและบริการ

การจัดการด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง

อุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังจะประกอบไปด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นเครื่องจักรระบบปิดเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องสับและเครื่องโม่ เครื่องสกัดหยาบ เครื่องสกัดละเอียด เป็นต้น โดยเครื่องจักรแต่ละหน่วยจะมีพนักงานดูแลและควบคุมการผลิต โดยการผลิตแป้งนั้นจะสามารถผลิตได้อย่างต่เนื่องขึ้นอยู่กับปริมาณหัวมันที่ทางโรงงานรับเข้ามา และเมื่อมีการผลิตมีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่อง รวมทั้งในขณะผลิตยังมีการใช้สารเคมีในการผลิตได้แก่ กำมะถัน และโซเดียมเมตาไบซัลไฟล์นอกจากนั้นแล้วในกระบวนการผลิตยังมีสารไซยาไนด์ที่เป็นส่วนประกอบหัวมัน ดังนั้นการจัดการด้านชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยแต่ละกระบวนการผลิตจะมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนี้ [7]

ตารางที่ 9.1 การจัดการด้านชีวอนามัยในกระบวนการผลิตโรงงานแป้ง

ลำดับ กระบวนการผลิต ลักษะอันตรายที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น วิธีการวางแผนการจัดการ
1 การลงกองหัวมัน อุบัติเหตุจราจร ไม่มีเส้นทงดินรถหรือป้ายบอกทางที่ชัดเจน ทำป้ายบอกทางให้ชัดเจน
การตกจากที่สูง เกิดจากการสุ่มตรวจหัวมัน ทำบันไดที่แข็งแรงเพื่อสุ่มเก็บตัวอย่าง
ฝุ่น ฝุ่นเกิดจากการเทกองหัวมัน ส่งผลต่อสุขภาพพนักงาน พนักงานควรมีที่กรองอากาศ และควรมีฉากกันระหว่างการเทกองมัน
2 เครื่องร่อนดินและทราย ตกจากที่สูง พนักงานตกจากที่สูงเนื่องจากบันไดและพื้นที่ยกรดับ ชำรุดหรือไม่มั่นคง จัดทำทางเดิน และราวให้มั่นคงแข็งแรงและครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมทั้งตรวจสอบเป็นประจำ
เสียงดัง พนักงานสูญเสียการได้ยินเนื่องจากเสียงดดังไม่สามารถสื่อสารได้ชัดเจน ใช้อุปกรณ์ลดเสียงและติดต่อสื่อสารโดยการเดินออกจากพื้นที่
3 แผนกสับเหงา สายพานลำเลียงหนีบ พนักงานสับเหงาถูกสายพานลำเลียงดึงเข้าไป ทำฝาครอบกั้นส่วนที่เคลื่อนไหวของสายพาน
มีดบาด พนักงานดับบาดเจ็บจากการโดนมีดบาด ให้พนักงานสวมถุงมือ
4 เครื่องล้างหัวมัน พนักงานตกลงในเครื่องล้างหัวมัน เครื่องล้างหัวมันเปิดโล่งหรือมีราวกันไม่สูงพอ ทำราวกั้นบริเวณที่มีการล้างหัวมัน
พื้นลื่น พื้นที่บริเวณรอบเครื่องล้างหัวมันจะมีน้ำ ทำให้ลื่น พนักงานควรใส่รองเท้ากันลื่น หรือ ออกแบบพื้นที่สามารถระบายน้ำได้ดี
5 เครื่งสับและเครื่องโม่ เสียงดัง เสียงดังเกิดจากเครื่องจักรทำงานทำให้พนักงานสูญเสียการได้ยิน ควรมีการใช้อุปกรณ์ลดเสียง และติดต่อสื่อสารโดยการเดินออกจากพื้นที่
เพลาบริเวณนอกเครื่องจักร เพลาบริเวณดังกล่าวจะเกี่ยวเสื้อผ้าของพนักงาน ทำให้ได้รับ ทำฝาครอบเพลา
แรงสั่นสะเทือน แรงสั่นสะเทือนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อพนักงานได้บาดเจ็บ ออกแบบเครื่องสับและเครื่องโม่ให้ลดการเกิดแรงสั่นสะเทือน
6 เครื่องสกัดแป้ง สลัดแห้ง ไซโคลนร้อน ไซโคลนเย็น เสียงดัง เสียงดังเกิดจากเครื่องจักรทำงานทำให้พนักงานสูญเสียการได้ยิน ควรมีการใช้อุปกรณ์ลดเสียง และติดต่อสื่อสารโดยการเดินออกจากพื้นที่
สายพาน พนักงานสับเหงาถูกสายพานลำเลียงดึงเข้าไป ทำฝาครอบกั้นส่วนที่เคลื่อนไหวของสายพาน
พื้นลื่น พื้นที่บริเวณรอบเครื่องสกัดและเครื่องสลัดทำให้ลื่น พนักงานควรใส่รองเท้ากันลื่น หรือ ออกแบบพื้นที่สามารถระบายน้ำได้ดี
เกิดระเบิดของฝุ่นแป้งในไซโคลนร้อนและไซโคลนเย็น สูญเสียการผลิตและพนักงานที่อยู่ใกล้เคียง ทำความสะอาดท่อส่งไซโคลน
7 เครื่องร่อนและบรรจุแป้ง การฟุ้งของฝุ่นแป้ง ฝุ่นแป้งจะส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจ ทำผนังกั้นบริเวณโดยรอบ เครื่องร่อนแป้ง มีระบบดูดอากาศ พนักงานสวมหน้ากาก ทำความสะอาดพื้นที่เพื่อลดการใช้
8 เตาน้ำมันร้อนและจุดแลกเปลี่ยนความร้อน น้ำมันรั่ว ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สิน ตรวจสอบการรั่ว
ไฟไหม้ เมื่อเตาน้ำมันร้อนใช้เชื้อเพลิงแข็งขณะที่ไฟฟ้าดับ การหมุนเวียนของน้ำมันร้อนไม่มี ส่งผลให้น้ำมันร้อนขยายตัวล้นออกมจากถังเก็บพบกับเชื้อเพลิงจึงเกิดการลุกไหม้ ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับลดความร้อน
9 เตาเผากำมะถัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์/ไอกรด ทำให้เกิดละอองกรด มีผลกระทบต่สุขภาพชุมชนและการกัดกร่อนในบริเวณใกล้เคียง ออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
10 Biogas ก๊าซมีเทน เป็นสารไวไฟ ก๊าซมีเทนเป็นสาไวไฟ เมื่อรั่วไหลและเจอความร้อนเกิดประกายไฟและเกิดความลุกไหม้ การออกแบบต้องไปตามหลัก และมีการตรวจสอบเฝ้าระวังก๊าซรั่วไหล
11 แผนฉุกเฉิน เพื่อรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ลักษณะต่างๆ เช่น ไฟไหม้ ฝุ่นแป้งระเบิด น้ำมันร้อนล้นออกจากถัง ไม่มีแผนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทำให้แก้ไขปัญหาไม่ได้ทันท่วงที จัดทำแผนฉุกเฉินให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่เกิดเหตุ และจัดอบรมบุคคลากรเกี่ยวกับแผนการฉุกเฉิน พร้อมทั้งมีการซ้อม

สารเคมี

สารเคมีที่พบในกระบวนการผลิต และในวัตถุดิบที่สำคัญในโรงงานแป้งได้แก่ กรดกำมะถัน และไซยาไนด์ จากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ต้องมีปราณกรดกำมะถันไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร (mg/M3) ในขณะที่ไซยาไนด์ ต้องมีไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร (mg/M3) ในขณะที่ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีเกินกว่ากำหนด นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล โดย ฝุ่นละออง ฟูม แก๊ซ หรือเคมีต้องสวมใส่ที่กรองอากาศ หรือเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสมของสารเคมีที่มีพิษ ต้องสวมใส่ถุงมือยาง รองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง กระบังหน้าชนิดใส และที่กันสารเคมีกระเด็นถูกร่างกาย สารเคมีในรูปของแข็งที่เป็นพิษ ต้องสวมใส่ถุงมือยางและรองเท้าหุ้มส้น [9]

เครื่องจักรในอุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่หม้อต้มน้ำให้มีการดำเนินงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน (สารเคมี) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 64 วันที่ 12 กรกฎาคม 2520เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ โดยดรงงานที่มีหม้อน้ำขนาดอัตราการเกิดผลิตไอน้ำตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมง ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีวิศวกรรมเป็นผู้ควบคุมและอำนวยการการใช้หม้อน้ำ [7]