ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

ลงทะเบียนผู้ให้บริการ

อีเมล :
รหัสผ่าน :
 
ลงทะเบียน   ลืมรหัสผ่าน

สมัครเป็นผู้ให้บริการ

สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ

“สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ”

เทคโนโลยีและบริการ

มลพิษ/ของเสีย และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลัง

โดยทั่วไป แป้งมันสำปะหลัง 1 ตัน ก่อให้เกิดน้ำเสียประมาณ 10 – 20 ลูกบาศก์เมตร และมีภาระความสกปรกของสารอินทรีย์สูง (ปริมาณบีโอดี ประมาณ 55 - 200 กิโลกรัม ปริมาณซีโอดี ประมาณ 130 - 400 กิโลกรัม ปริมาณสารแขวนลอย ประมาณ 40 - 140 กิโลกรัม ฟอสฟอรัสทั้งหมดประมาณ 0.2 - 0.6 กิโลกรัม และไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 3 - 10 กิโลกรัม) นอกจากนี้ กระบวนการผลิตยังก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในรูปของแข็ง ได้แก่ เปลือก ราก และกากมันสำปะหลัง [2] ซึ่งเมื่อเทียบปริมาณความสกปรกที่เกิดจากน้ำเสียของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง กับปริมาณความสกปรกจากประชากรพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังชนิด Native starch โดยทั่วไปจำนวนหนึ่งแห่ง ที่มีกำลังการผลิตเฉลี่ย 100-200 ตันแป้งต่อวัน ทำให้เกิดน้ำเสียที่มีความสกปรกเทียบเท่าประชากรจำนวน 92,000-680,000 คน [5] ในแต่ละกระบวนการส่งผลให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำ อากาศ และเศษวัสดุเหลือทิ้ง จึงต้องมีแนวทางในการจัดการที่แตกต่างกันออกไป ในการจัดการมลพิษทางน้ำ สามารถทำได้โดยการติดตั้งระบบบำบัด ระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยจากเดิม คือ ระบบบ่อหมัก และบ่อปรับเสถียร โดยในปัจจุบันได้หันมาใช้กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียที่มีอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์สูง เช่น ระบบ UASB, ABR หรือ Covered Lagoon เป็นต้น ระบบบำบัดมลพิษอากาศ แหล่งกำเนิดมลพิษอากาศที่สำคัญในโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมัน เกิดจากการผลิตในกระบวนการทำให้แป้งแห้ง การร่อนแป้ง และการบรรจุแป้งเป็นส่วนใหญ่ และอาจมีมลพิษอากาศจากการใช้เชื้อเพลิงของหม้อน้ำบ้าง ซึ่งระบบบำบัดมลพิษอากาศที่นิยมใช้ได้แก่ ระบบไซโคลน (Cyclone) ระบบถุงกรองและระบบดักฝุ่นแบบเปียก (Wet Scrubber) โดยอาจใช้ระบบบำบัดอากาศเสียเพียงระบบเดียว หรือใช้มากกว่าหนึ่งระบบในการบำบัดอากาศเสียตามความเหมาะสม ดังแสดงในภาพที่ 4 [8]

\"\"

รูปภาพที่ 10.3 ระบบการบำบัดอากาศเสีย [8]

แนวทางการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้ การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ซึ่งมีวิธีการจำกัดกากของเสียที่แบ่งตามประเภทของของเสียดังแสดงในตารางที่ 1 [8]

ตารางที่ 10.1 แนวทางการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้ [8]

ประเภทของของเสีย วิธีการกำจัด
ของเสียที่เป็นทรายหรือดิน ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
เศษเนื้อเยื่อของพืช ทำอาหารสัตว์
ตะกอนจากการล้างทำความสะอาด ปอกเปลือก การเหวี่ยงและการแยก หมักทำปุ๋ย
กากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสีย ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
หมักทำปุ๋ย
เถ้าหนัก ตระกรันและฝุ่นจากหม้อน้ำ ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
เถ้าลอยและฝุ่นจากหม้อน้ำที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ฝังกลบอย่างปลอดภัย
ของเสียจากการบำบัดน้ำหล่อเย็น ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล
บรรจุภัณฑ์ คัดแยกเพื่อจำหน่ายต่อ

นอกจากนี้ยังนำน้ำเสียจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนน้ำมันเตา จากการวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค เพื่อไม่ให้มีการปล่อยน้ำทิ้งไปสร้างมลพิษสู่ชุมชน [9] ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป