ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

คำถามที่พบบ่อย

เรื่องเทคโนโลยี

1. MIS คืออะไร
2. ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ MIS ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
3. มาตรฐาน% แป้งในกากของมันสำปะหลัง

 

 

\"starch\" 1. MIS คืออะไร

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) คือ ระบบหรือกระบวนการ ที่ใช้ในการจัดการ รวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ ดังนั้น ระบบ สารสนเทศจึงเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์ข้อมูลสำหรับการดำเนินธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสถานภาพทางธุรกิจ และใช้ในการเปรียบเทียบหรือระบุทางเลือกทางธุรกิจ เช่น การนำกิจกรรมใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น

 

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสารสนเทศ คือ การเก็บข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานของกระบวนการต่างๆ การประมวลผลและการแปลงข้อมูลดิบเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ง่าย เช่น ดัชนี้ชี้วัดค่าต่างๆ และการรายงานข้อมูล รวมถึงใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นในการตัดสินใจ เช่น การตรวจสอบประสิทธิภาพและการปรับปรุงกระบวนการผลิต เป็นต้น

 

องค์ประกอบที่สำคัญของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ระบบ และเครื่องมือ (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) โดยมีบุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเนื่องจากวัตถุประสงค์และประโยชน์ทั้งหมดของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศจะเกิดขึ้นจากบุคลากรที่มีความเข้าใจ ซึ่งจะเป็นผู้ที่ควบคุมกระบวนการของระบบสารสนเทศ รวมไปถึงข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ

 

จากแนวโน้มทางการตลาดส่งผลให้โรงงานต้องพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ ในขณะเดียวกันสินค้าที่ผลิตได้ต้องใช้ต้นทุนต่ำ ดังนั้น การพัฒนาประสิทธิภาพเชิงเศรษฐนิเวศน์ ด้วยการส่งเสริมการปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และ การลดการเกิดของเสียและมลพิษ สามารถเพิ่มความต้องการทางด้านการตลาดไปพร้อมกับการกระตุ้นการแข่งขันทางธุรกิจ ดังนั้น การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศจะเป็นการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในระดับ ผู้บริหารเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพเชิงเศรษฐนิเวศน์และเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจ

[ที่มา สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย]

 

 


\"starch\" 2. ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ MIS ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง

ในสภาพการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ภาคเอกชนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพเชิงเศรษฐนิเวศน์เป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังสามารถประเมินประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการสูญเสีย และเพื่อทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการใช้วัตถุดิบและพลังงานที่เหมาะสม ลดการสูญเสีย อันจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ในขณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วยพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นไปในทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ในปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เแนะนำการประยุกต์ใช้หลักการณ์ดังกล่าวในโรงงานนำร่องสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันจำนวนประมาณ 10 โรงงาน ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง สามารถสรุปได้ดังนี้
 

  • อุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังสามารถรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแปลงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพเชิงเศรษฐนิเวศน์ให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
  • ฝ่ายบริหารของโรงงานสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการเปรียบเทียบภายในโรงงานและเปรียบเทียบกับโรงงานอื่นๆ (Internal or Industrial Benchmarking) และใช้ในการเปรียบเทียบทางเลือกด้านต่างๆ เช่น การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ
  • ช่วยกระตุ้นการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร และพลังงาน
  • ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้า ด้วยความพยายามทางด้านการตลาดและการสื่อสาร
  • ช่วยปรับปรุงการดำเนินการทางด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ และการลดการปล่อยมลสารออกสู่สิ่งแวดล้อม

[ที่มา สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย]

 

 


\"starch\" 3. มาตรฐาน% แป้งในกากของมันสำปะหลัง

มาตรฐาน% แป้งในกากมันสำปะหลัง ยังไม่ได้ถูกกำหนดแต่ จากข้อมูลที่ทางองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมันร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ดำเนินกิจกรรม Benchmarking ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังนั้น พบว่าค่า Median อยู่ที่ 25.3 กก.แป้ง/ตัน กากสด โดยค่าที่โรงงานที่ทำได้ดีสุดอยู่ที่ 15 กก.แป้ง/ตัน กากสด และที่มากสุด อยู่ที่ 41 กก.แป้ง/ตัน กากสด

หมายเหตุ : ทั้งนี้การวัดนั้นใช้วิธีแบบง่ายๆ (ที่โรงงานทั่วไปกระทำในการหาแป้งในกาก) คือการนำกากมันสดมาปั่นกับน้ำ(เช่น อัตราส่วนกาก 50 กรัม น้ำ 1 ลิตร) แล้วทำการกรองด้วยผ้ากรอง(ผ้ากรองที่เครื่อง turbo) ขนาด150 mesh เพื่อกรองกากและกากอ่อนออก แล้วนำน้ำที่ผ่านการกรอง ไปอบแห้ง ของแข็งที่เหลืออยู่ นำมาคำนวณเป็นแป้งในกาก


[ผู้ตอบ: ดร.อรรณพ นพรัตน์ / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี]