ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

ลงทะเบียนผู้ให้บริการ

อีเมล :
รหัสผ่าน :
 
ลงทะเบียน   ลืมรหัสผ่าน

สมัครเป็นผู้ให้บริการ

สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ

“สำหรับบริษัท/หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง กรุณาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลบริษัท/เทคโนโลยี ผ่านเครือข่ายฯ”

เทคโนโลยีและบริการ

มันสำปะหลังและการนำไปใช้

มันสำปะหลังมีชื่อสามัญว่า Cassava หรือ Tapioca หรือ Manioc มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Maniho esculenta Crantz มีถิ่นกำเนิดในแถบเขตร้อนพบในแถบอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2549 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั่วโลกประมาณ 113.8 ล้านไร่ และมีผลผลิตเฉลี่ย 1.92 ตัน/ไร่ โดยที่อินเดียเป็นประเทศที่มีผลผลิตต่อพื้นที่สูงสุด 5 ตัน/ไร่ ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ มีการพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง มีระบบการจัดการแปลงและชลประทานที่ดี ทั้งนี้พันธุ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้เนื่องจากอินเดียมีความหลากหลายของสายพันธุ์มันสำปะหลังสูง จึงเป็นข้อได้เปรียบ ปัจจุบันอินเดีย มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนามันสำปะหลังที่เรียกว่า "2020 strategy" เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่เป็น 6 ตัน/ไร่ (Edison S., 2007) ในขณะเดียวกัน ประเทศไนจีเรียผลิตมันสำปะหลังมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตามด้วยบราซิลและประเทศไทย เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านพื้นที่มีโครงการวิจัยเน้นการเพิ่มผลผลิตภายใต้การสนับสนุนของ International Center for Tropical Agriculture : CIAT (www.checkbiotech.org) แต่ทั้งนี้ผลผลิตที่มากเป็นอันดับต้นของไนจีเรียและบราซิล เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่มากกว่าประเทศไทย โดยทั้ง 2 ประเทศ ผลผลิตต่อพื้นที่ยังต่ำกว่าไทย และแม้ไทยไม่ใช่ผู้ผลิตมันสำปะหลังอันดับหนึ่งของโลก แต่ในแง่การส่งออก ไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของโลก ประเทศคู่แข่งที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย บราซิล และเวียดนาม

พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังพบทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ภาคที่มีการปลูกมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มากกว่าร้อยละ 50) รองลงมา คือ ภาคกลาง (ประมาณร้อยละ 33) และภาคเหนือ (ประมาณร้อยละ 15) พื้นที่รวม 48 จังหวัด คิดเป็นพื้นที่ปลูกประมาณ 7 ล้านไร่ ผลผลิตรวมกว่า 26 ล้านตัน ในปี พ.ศ. 2550 (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2550)

มันสำปะหลังมีทั้งหมดประมาณ 150 พันธุ์ แต่ละพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งลักษณะภายนอก และปริมาณของกรดไฮโดรไซยานิกซึ่งเป็นส่วนประกอบทางสรีรวิทยา จากการที่ปริมาณกรดไฮโดรไซยานิกไม่เท่ากันนี้เอง จึงแบ่งมันสำปะหลังออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดขม(Bitter Type) และ ชนิดหวาน (Sweet Type) โดยชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งมันสำปะหลังคือชนิดขม

สำหรับประเทศไทยมีสายพันธุ์ของมันสำปะหลังที่ใช้ในการผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยกันอยู่ 9 พันธุ์ คือ ระยอง1 ระยอง 2 ระยอง 3 ระยอง 5 ระยอง 60 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ศรีราชา1 และ พันธุ์ห้านาที (กล้าณรงค์ ศรีรอด และ เกิ้อกูล ปิยะจอมขวัญ, 2546)

โดยเฉลี่ยแล้วส่วนประกอบในหัวมันสำปะหลังมีดังนี้

น้ำ
แป้ง
โปรตีน
เยื่อใย
 ไขมันและน้ำมัน
เถ้า
กรดไฮโดรไซยานิก
60-70 %
20-30 %
1 % 
2 %
1 %
0.9-2.4 %
0.02 %

รูปที่ 1.1 แสดงปริมาณการใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลัง ในปี พ.ศ. 2550 มันสำปะหลังเกือบทั้งหมดถูกใช้ในการผลิต แป้ง มันเส้น และมันอัดเม็ด เมื่อดูผลผลิตมันสำปะหลังในปี พ.ศ. 2550 เห็นได้ว่าผลผลิตสูงขึ้นถึง 26 ล้านตัน เทียบกับผลผลิตเฉลี่ยในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่ได้เพียง 20 ล้านตัน ทั้งนี้เนื่องจากราคามันสำปะหลังที่สูงขึ้น ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูก และมีกำลังซื้อปัจจัยดูแลแปลงมากขึ้น

\"\"

รูปที่ 1.1 ปริมาณการใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังปี พ.ศ. 2550 (คัดมาจาก ไบโอเทค 2551)