ยินดีต้อนรับเข้าสู่ สังคม แป้งมันสำปะหลัง จุดเริ่มต้นของการไปสู่การพัฒนาการรวมกลุ่มธุรกิจ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในกลุ่มอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังไทย
EN TH

« April 2024 »
S M T W T F S
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30

กิจกรรม

ข่าว

ท็อปส์ ผุดโปรเจ็คใหม่ อุ้มเกษตรกรสู้โควิด (ข่าววันที่ 20 พฤษภาคม 2563)
ท็อปส์ เปิดตัวโปรเจ็ค “รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรฯ” ทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง ชูจุดแข็งโลจิสติกส์ ลดต้

นางสาวเมทินี พิศุทธิ์สินธพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ผู้บริหารท็อปส์และแฟมิลี่มาร์ท ในเครือเซ็นทรัล รีเทล  เปิดเผยว่า บริษัทจัดทำโครงการ “รับซื้อสินค้าตรงจากเกษตรกรและชุมชน บริหารการขนส่งผ่านเครือข่ายรถส่งสินค้า (Backhaul)” เป็นการนำศักยภาพการบริหารจัดการผ่านเครือข่ายรถขนส่งสินค้าไปยังร้านท็อปส์ทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งปกติต้องตีรถเที่ยวเปล่ากลับไปยังศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ  เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ลดต้นทุนการส่งสินค้า สามารถส่งผลผลิตต่อครั้งได้มากขึ้น ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากการขนส่งให้คุ้มค่า

“ระบบโลจิสติกส์ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท จะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งพบว่าเกษตรกรประสบปัญหาต่าง   เช่น   ช่องทางการจำหน่ายสินค้าลดลง  ความไม่สะดวกในการเดินทางเพื่อขนส่งสินค้าเนื่องจากติดช่วงเวลาเคอร์ฟิว ประสบปัญหาด้านการส่งออก  ปัญหาด้านแรงงาน โครงการดังกล่าวจึงเข้ามาเติมเต็มและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้อย่างถูกจังหวะและเวลา”

การขนส่งสินค้าโดยใช้รถ backhaul เป็นการใช้อุปกรณ์และองค์ความรู้ ความชำนาญ ที่มีในการบริหารจัดการขนส่ง  ทั้งระบบมีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพจากต้นทาง (เกษตรกร) ไปจนถึงปลายทาง (ผู้บริโภค) โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะรวบรวมผลผลิตนำขึ้นรถขนส่งสินค้าท็อปส์ เพื่อนำกลับไปยังศูนย์กระจายสินค้าอาหารสดและรอกระจายไปจำหน่ายยังสาขาต่างๆ  สำหรับปริมาณการขนส่งต่อรอบขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า เช่น ผลไม้ ประมาณ 5-6 ตันต่อรอบ หรือผักประมาณ 2-3 ตันต่อรอบ

จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาพบว่าเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรหลายด้าน ได้แก่ 1. ลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเกษตรกรสามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมากในเวลาจำกัด 2. ลดต้นทุนด้านแรงงาน ไม่ต้องจ้างคนเพิ่มในการดูแลขนส่งสินค้า 3. ประหยัดเวลา เมื่อมีรถไปรับสินค้าถึงที่ทำให้เกษตรกรมีเวลาเพิ่มขึ้นไปดูแลผลผลิตให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น 4. สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพราะสามารถส่งผลผลิตไปจำหน่ายได้มากขึ้นต่อการขนส่งแต่ละรอบ 5. ลดความเสี่ยงจากโควิด-19 ไม่ต้องเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อขนส่งสินค้า และอีกหนึ่งประโยชน์สูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมคือ เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการขนส่ง

นางสาวเมทินี กล่าวว่า เพื่อเป็นไปตามโยบายมาตรการสร้างอาชีพ เสริมรายได้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเกษตรกรและชุมชนอย่างยั่งยืนแม้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายแล้วก็ตาม เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล  ยังได้วางแผนช่วยเหลือเกษตรกรในระยะยาว พัฒนาระบบทั้งด้าน supply chain และการตลาด ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การวางแผนการผลิตร่วมกัน รูปแบบการแพ็ค การตัดแต่งสินค้า การแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า การพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สร้างโอกาสการขายผ่านออนไลน์และออฟไลน์

พร้อมมีทีมงานจัดซื้อประจำภูมิภาคของท็อปส์ทำหน้าที่ประสานความช่วยเหลือให้ความรู้เกษตรกรซึ่งทำการเกษตรแบบ Traditional หรือคนรุ่นพ่อแม่ที่อาจยังไม่คุ้นเคยกับค้าปลีกสมัยใหม่ก็จะมีทีมงานเข้าไปประสานกับตัวกลางคือสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชนต่างๆ  สำหรับเกษตรกรคนรุ่นใหม่จะมีความเข้าใจและปรับตัวได้เร็ว โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 10,000 ครัวเรือน ใน 42 จังหวัด

 
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ
https://www.thansettakij.com/content/435107